บอร์ด ความรัก,จากเด็กขอทานเร่ร่อนสู่ldquoดอกเตอร์ ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย OMGINDI ดอกเตอร์กองขยะ ดร.กุลชาติ จุลเพ็ญ จากเด็กขอทานเร่ร่อนสู่อาจารย์สอนวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ กับแนวคิดที่ว่าต้องเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนค่านิยมใหม่ อย่าไปดูถูกเด็กสายอาชีพอย่าให้ค่าแต่ที่ ใบปริญญา จนลืมค่าของ ใบประกาศนียบัตร จากเด็กขอทานเร่ร่อน จากเด็กที่คิดแค่ว่า “จะเรียนสูงๆ ไปทำไม จบแค่ ป.6 ก็พอแล้ว” จนถูกเรียกว่า “ไอ้ขี้ขโมย” เพราะครอบครัวที่แตกแยก และใช้ชีวิตเร่ร่อนมาตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ หลังจากครอบครัวแตก และวันหนึ่งแม่ได้กลับมาอยู่ด้วยกันแต่ด้วยความที่ตัวเองไม่อยากเรียนต่อ แต่ก็ไม่อยากให้แม่เสียใจจึงตั้งใจเรียนจนคะแนนดีขึ้นมาเมื่อขึ้น ป.6 เริ่มเลียนแบบเพื่อนที่ได้ที่ 1 ของห้องไม่ว่าจะเป็นการกิน มาเรียน เลิกเรียน การทำการบ้าน เป็นการลอกเลียนความขยันของคนอื่นมา จนได้โควต้าเข้าเรียนโดยไม่ต้องสอบเข้าและได้ไปอยู่ห้องคิงส์ เมื่อขึ้น ม.2 ได้มีการเลือกสาขาและสาขาที่เลือกก็คือ “สาขาช่างเชื่อม” เป็นการเลือกเรียนที่มีความสุขมากที่สุดแม้ว่าห้องนี้จะอยู่ห้องสุดท้าย การเรียนสาขานี้ก็เหมือนสาขาอื่นๆ แต่ เพิ่มวิชา “ช่างเชื่อม” เข้ามา จากการอยู่ห้องคิงส์ต้องแข่งกับเพื่อนร่วมห้อง เมื่อได้ย้ายมาสาขาช่างเชื่อมคนที่ต้องแข่งด้วย “แข่งกับตัวเอง” เหตุผลสำคัญที่ผันตัวเองจากเรียนห้องคิงส์มาเรียนช่างเชื่อม ก็เพราะตอนปิดเทอมไปช่วยแม่เก็บขยะมาขายแต่รายได้ก็ยังเท่าเดิม บางครั้งก็ได้รับบาดเจ็บกลับมาด้วย ไม่มีค่ารักษาก็ได้แค่ใส่ทิงเจอร์และกินยาทัมใจ ดร.กุลชาติ กล่าว่า “การเก็บขยะเป็นชีวิตที่เสี่ยงโชคและเสี่ยงภัยขยะเหม็นเน่าผมไม่กลัว กลัวอย่างเดียวคือกลัวการบาดเจ็บจากการเก็บขยะ แล้วมันมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและรายได้” หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มทำงานอยู่ที่ร้านเหล็กดัด เป็นเด็กฝึกงานแต่ก็ทำได้เพียงบางอย่างเช่น ทาสี เข้าเหล็ก ไม่สามารถทำอะไรที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ เครื่องไฟฟ้าหรืออ๊อกได้เลย ก็ใช้วิธีครูพักลักจำเก็บรายละเอียดแค่เพียงเพราะอยากได้ค่าแรงเท่าๆ กับพี่ๆ พี่เขาก็บอกแค่ว่า “เอ็งก็ต้องทำให้เป็น ถ้าเอ็งไม่มีประสบการณ์เอ็งก็ต้องมีวุฒิ เรื่องพวกนี้เอ็งต้องไปเรียนรู้ในโรงเรียน แต่เรื่องของประสบการณ์เอ็งมาเรียนรู้ที่ร้าน” และนั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ตัดสินใจมาเรียน “ช่างเชื่อม” หลังจากจบ ม.3 ก็เริ่มเข้าเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคชุมพร เด็กที่มาเรียนเทคนิคที่ผมเห็น มีทั้งคนที่ตั้งใจมาเรียน กับคนที่พ่อแม่บังคับให้มาเรียน เพราะอาชีวะให้อิสระกับเด็กมากกว่าสายสามัญ มีภาคเช้า ภาคบ่าย เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่มาเรียนได้ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย แต่เด็กที่เข้ามาเรียนโดยไม่รู้เป้าหมายของตัวเองกับกลายเป็นในทางลบกับเขากลายเป็นว่าใช้ช่องว่างตรงนั้นในแบบที่ไม่สมควรใช้ ผมบอกเลยว่านี่แหละคือสิ่งที่ภายนอกเขาเห็นแล้วไม่อยากให้ลูกเรียนอาชีวะ...จะโทษเด็กอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องโทษพ่อแม่ด้วยที่ผลักดันให้เขาไปเรียนตรงนั้น ให้เขาอยู่ไม่ถูกที่ การเรียนอาชีวะนั้นเราไม่ได้แข่งกันเรียนเก่ง แต่เราฝึกฝนให้มีความชำนาญ ใครเก่งก็ต้องขยัน เพราะเขาวัดความสำเร็จกันที่ “ผลของงาน” จากตอนแรกที่ตั้งเป้าหมายไว้แค่เรียนจบแค่ ป.6 จนขยับสูงขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อที่จะเรียนต่อปริญญาตรีก็ต้องกู้ กยศ.และกลับมาใช้เงินกู้โดยการเป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรี แต่ก็ยังคงคิดต่อว่าเรียนจบป.ตรี ไปสอนป.ตรีนักศึกษาก็ไม่มั่นใจในการสอนของตัวเองแน่นอน จึงเดินหน้าเรียนต่อ ป.โท พอจบโทก็อยากหาใบรับรองจากที่อื่นที่ไม่ใช่ในประเทศ จึงเลือกที่จะเรียน Nippon Institute of Technology, Japan ในระดับปริญญาเอก และเลือกเรียนในสาขาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ เพราะตลาดที่เมืองไทย รถยนต์ญี่ปุ่นเยอะที่สุด โรงงานญี่ปุ่นเยอะที่สุด บริษัทญี่ปุ่นเยอะ ถ้าจบมาแล้วเปลี่ยนใจไม่เป็นอาจารย์ก็ไม่ตกงานแน่นอน แต่เนื่องจากสื่อสารไม่ได้ในการอธิบายผลงานต่างๆ จึงลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นการอธิบาย เมื่อเขาเห็นผลงาน เขาเลยพยายามที่จะสื่อสารด้วย “ผมต่างจากคนอื่นตรงที่ว่า คนไทยคนอื่นวิ่งหาเขาเพื่อไปขอความข่วยเหลือ ซึ่งคนญี่ปุ่นบอกว่าคุณต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน เขาถึงจะช่วยคุณ แต่เข้าหาเขาโดยการเข้าไปช่วยเขา ไม่ใช่เขามาช่วยผม” “หลังจากเรียนจบกลับมา มีทั้งความรู้และทักษะ การเป็นครูมันทำให้ทักษะและความสามารถของผมมีค่ามากขึ้น นอกจากการให้ความรู้เด็กแล้วอีกสิ่งที่สำคัญคือ ผมอยากเปลี่ยนทัศนคติที่คนมีต่อเด็กสายอาบีพให้ได้ว่า พวกเขามีคุณภาพไม่แพ้เด็กสามัญ”สุดท้าย ดร.กุลชาติ จุลเพ็ญ บอกว่าเปลี่ยนค่านิยมปัญหาของการศึกษาตอนนี้คือการตัดสินใจเลือกเรียนครับการประกอบอาชีพ ในโลกใบนี้มีทั้งที่เป็น “มันสมอง” และ “ฝีมือชน”หากลูกหลานของคุณชอบเก็บความรู้ใส่หัว แต่ไม่ถนัดทางปฏิบัติ ก็มาทางสายสามัญแต่เขาถนัดหรือสนใจ “สายอาชีพ” ก็ควรผลักดันให้เด็กเป็น “ฝีมือชน” ของชาติไปเลยเลือกให้ถูกสาย และต้องเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนค่านิยมใหม่อย่าไปดูถูกเด็กสายอาชีพ อย่าให้ค่าแต่ที่ใบปริญญาจนลืมค่าของใบประกาศนียบัตร ปัจจุบันบ้านเราไม่ได้เป็น “คลังสมอง” ของโลก แต่เป็น “คลังฝีมือ” ของโลก คนที่ไปออกงานสำคัญๆ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศส่วนใหญ่ คือ “ช่างฝีมือ” ทั้งนั้นนะครับ
@https://www.malishthailand.com/ ผล ยูโร ป้า ลีก ล่าสุด 2023 All Copyrights Reserved.
top